ยา PEP (ยาต้ายฉุกเฉิน)

ยาเป็ป  (ยาต้านไวรัสฉุกเฉิน)

                   ยาเป็ป มาจากคำว่า  PEP  (Post-exposure prophylaxis) ใช้รับประทานหลังจากที่มีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HIV  

เช่น หลังจากมีเพศสัมพัน์โดยไม่ได้ป้องกัน , หลังจากถุงยางอนามัยแตก , สัมผัสเลือดหรือสิ่งคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ

ถูกล่วงละเมิดทางเพศ , ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง  เป็นต้น

 

ยา PEP ควรเริ่มรับประทานเมื่อใด และนานเท่าใด ?

                 ควรเริ่มรับประทานเร็วที่สุดหลังจากมีปัจจัยเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี  หรือ ภายใน 72 ชั่วโมง รับประทานนาน 28 วัน

PEP มีกี่ชนิด ?

                 ยา PEP มีหลายชนิด โดยจะรับยาตามปัจจัยเสี่ยง โดยแพทย์ผู้ให้คำปรึกษาจะพิจารณาตาม ปัจจัยเสี่ยงของผู้ปรึกษาเพื่อรับยา PEP

เช่น วิธีการที่สัมผัสเชื้อ  มีภาวะตั้งครรภ์หรือไม่  มีโรคอื่นร่วมหรือไม่ (เช่น ไวรัสตับอักเสบ บี ,โรคไตวาย) เป็นต้น  โดยส่วนใหญ่ยาที่ใช้จะเป็นยา

ที่มีส่วนผสมของยาต้านหลายชนิดรวมในเม็ดเดียว เพื่อให้ออกฤทธิ์กำจัดเชื้อได้ดีขึ้น

ก่อนที่จะรับยา PEP ควรเจาะเลือดตรวจก่อนหรือไม่ ?

               ถ้าเป็นไปได้ควรรับการตรวจเลือดก่อน ว่าเคยมีการติดเชื้ออื่นๆร่วมด้วยหรือไม่ เช่น  ติดเชื้อเอชไอวีมาก่อนหน้านี้โดนไม่ทราบมาก่อนหรือไม่

เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่น เช่น ซิฟิลิส, ไวรัสตับอักเสบ บี,   ไวรัสตับอักเสบ ซี มาก่อนหรือไม่   ค่าตับและค่าไตของผู้รับยา PEPปกติหรือไม่

 

จะรู้ได้อย่างไรว่ากินยา PEP แล้วมีอาการแพ้ยา ?

               ตามปกติโอกาสที่จะแพ้ยา PEP นั้นน้อยมาก แต่ถ้ามีอาการผิดปกติหลังจากรับประทานยา เช่น คันตามตัว  ปากบาม  ตัวบวม หนังตาบวม เป็นผื่น 

ให้หยุดยา และติดต่อกับแพทย์ผู้ที่รับปรึกษาจ่ายยาให้ท่าน โดยด่วน  

ยา PEP ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาใด ?

               ยา PEP ไม่ควรรับประทานร่วมกับยาที่ขัดขวางการดูดซึมยา PEP เช่น ยาเคลือบกระเพาะอาหาร , ยาที่มีส่วนผสมของแคลเซียมและธาตุเหล็ก

 

ยา PEP สามารถใช้ในสตรีตั้งครรภ์ ได้หรือไม่ ?

               ยา PEP สามารถใช้ในสตรีตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ได้  แต่ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนตัดสินใจเริ่มยา

Scroll to Top